วารสาร หมายถึง สิ่งพิมพ์เป็นเล่มกำหนดออกเป็นประจำในระยะสัปดาห์ ปักษ์ เดือน หรือรายปี มักจะมุ่งให้ความรู้เชิงวิชาการแก่ผู้อ่านเป็นส่วนรวม หรือเฉพาะกลุ่ม ( วิษณุ สุวรรณเพิ่ม, 2531 : 12)
     
 
   
   
 วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่คล้ายกับนิตยสาร วารสารเป็นสิ่งพิมพ์
ที่ออกเป็นรายประจำ มีลักษณะและรูปเล่มคล้ายนิตยสาร แต่แตกต่างจากนิตยสารตรงที่เนื้อหาภายในเป็นด้านวิชาการ
มากกว่าด้านบันเทิง ใช้จำนวนสีและภาพประกอบน้อยกว่า
การจัดทำวารสารมีขึ้นเพื่อสนองนโยบายและความต้องการ
ของหน่วยงาน สมาคม องค์กร หรือสถาบันต่างๆ โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ บทความทาง
วิชาการ ผลงานการวิจัย ความรู้ทางวิชาการ และความ
ก้าวหน้าทางวิทยาการมากกว่าจัดทำเพื่อธุรกิจการ
ค้าแบบนิตยสารและใช้เป็นเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ
      สำหรับรูปเล่มของวารสาร ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับ
ความหนาที่แน่นอน แต่ไม่ควรหนาหรือบางเกินไป หากเป็น
วารสารขนาดมาตรฐานไม่ควรหนาต่ำกว่า 40 หน้า และไม่
ควรหนาเกิน 100 หน้า ถ้าหากขนาด 16 ยก ก็ไม่ควรต่ำกว่า
50 หน้า และไม่ควรเกิน 200 หน้า เพราะหากจำนวนหน้าน้อย
หรือมากเกินไป ความสนใจของผู้อ่านจะลดน้อยลง
 
 
 
องค์ประกอบของวารสาร
 
 
วารสารมีองค์ประกอบหลักๆเช่นเดียวกับนิตยสารคือ
 
  ปกหน้า
   
      มักพิมพ์ด้วยกระดาษหนากว่าเนื้อกระดาษภายใน และมักออกแบบให้มีลักษณะเคร่งขรึมเป็นทางการ ใช้สีเดียวหรือสองสี
เป็นสีตัดกันเช่น พื้นน้ำเงิน ตัวอักษรขาว หรือพื้นขาว ตัวอักษรสีดำ และมักไม่นิยมใช้ภาพ เป็นปก ส่วนใหญ่จะใช้เป็นตัวอักษร หรือการออกแบบลายเส้นและบางฉบับจะพิมพ์ชื่อเรื่องลงในหน้าปกเป็นสารบัญบอกผู้อ่าน
     
  คลิกดูตัวอย่างปกหน้า
 
  สารบัญ
   
  มักออกแบบเคร่งขรึมเป็นทางการ ทำให้ดูน่าเชื่อถือมากกว่า ที่จะออกแบบให้หรูหราแบบนิตยสาร ไม่นิยมนำภาพประกอบ เรื่องจากเนื้อเรื่องมาใส่ไว้ในหน้าสารบัญอย่างที่นิตยสารนิยม ทำ นอกจากนั้น วารสารบางเล่มก็นำสารบัญไปพิมพ์ไว้หน้าปกเลย
     
  คลิกดูตัวอย่างสารบัญ
 
  บทบรรณาธิการ
   
มักเขียนโดยบรรณาธิการของวารสารฉบับนั้นๆ เป็นการทักทาย กับผู้อ่านและแนะนำเรื่องเด่นๆภายในฉบับนั้นเช่นเดียวกับ บรรณาธิการ นิตยสาร   แต่เนื่องจากวารสารส่วนใหญ่นำเสนอบทความเชิงวิชาการ แสดง ความคิดเห็นซึ่งอาจจะมีผลเข้าข่ายละเมิดสิทธิ์ ที่จะถูกฟ้องร้องได้ตามกฎหมายจึงมักมีข้อความอีกลักษณะหนึ่งที่มักปรากฎในหน้าบท บรรณาธิการ หรือหน้าสารบัญ คือถ้อยแถลงของบรรณาธิการ เกี่ยวกับ ความรับผิดชอบด้านกฎหมายที่มีต่อบทความ และความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในผลงานปรากฎอยู่ในหน้าบทบรรณาธิการด้วย
     
  คลิกดูตัวอย่างบทบรรณาธิการ
 
  เนื้อหา
   
  เนื่องจากวารสารจะเน้นเนื้อหาไปทางด้านวิชาการ ดังนั้นองค์ประกอบส่วนใหญ่จะเป็นบทความวิชาการ ตอนท้ายของบทความ
แต่ละเรื่องมักจะมีบรรณานุกรมรายชื่อเอกสารที่ใช้ อ้างอิงในการเขียน บทความนั้นๆ นอกจากนี้ชื่อผู้แต่งก็มักจะใช้ชื่อจริง
     
  คลิกดูตัวอย่างเนื้อหา
 
      จากรูปแบบลักษณะด้านเนื้อหาข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่าองค์ประกอบของวารส่วนใหญ่คือบทความประเภทให้ความเห็นและประสบการณ์ใน สาขาวิชาการนั้นๆ ส่วนนิตยสารมีองค์ประกอบที่ใช้เนื้อหาที่มากที่สุด คือเรื่องสั้นนวนิยายและเรื่องให้ความบันเทิงอื่นๆ       การศึกษาองค์ประกอบของหนังสือ นิตยสาร วารสาร แต่ละเล่มแต่ละฉบับเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากหลักในการออกแบบนั้น การวางรูปเล่มจะต้องสอดคล้องกับเนื้อหา และเกี่ยวโยงกับรสนิยมของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้อ่านหนังสือฉบับนั้นๆด้วย (ประชัน วัลลิโก, 2539 : 87)
 
 
 

ลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งพิมพ์ แบบฝึกหัด 7.3