การแบ่งประเภทของหนังสือสามารถทำได้หลายวิธี สุดแล้วแต่จะยึดหลักเกณฑ์ใด วิธีที่นิยมแบ่งกันคือ การแบ่งตามเนื้อหา และการแบ่งตามลักษณะการแต่ง
 
 
1.การแบ่งตามเนื้อหา
 
 
  มักแบ่งย่อยเป็น 2 วิธีคือ แบ่งตามเนื้อหากว้างๆและแบ่งตามเนื้อหาย่อย(สุรัตน์ นุ่มนนท์, 2539 : 16-18)
 
 
การแบ่งตามเนื้อหากว้างๆได้แก่
 
  หนังสือตำราและสารคดี  
 
ตำราเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นตามหลักสูตรการเรียนการสอน
ในระดับและแขนงวิชาต่างๆมีเน้อหาวิชาการล้วน และมีลักษณะเหมือนหนังสือสารคดี คือ มุ่งให้ความรู้ ต่างกันแต่ว่าหนังสือสารคดีนอกจากจะให้สาระ ประโยชน์ในขอบเขตที่ไม่จำกัดแล้ว ยังให้ความ เพลิดเพลินจากสำนวนภาษาลีลาการเขียน หรือเนื้อหาด้วย
 
 
  หนังสือบันเทิงคดี
 
หรือหนังสือนวนิยาย คือ หนังสือที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์หรือ จินตนาการของผู้ประพันธ์โดยอาศัยเค้าโครงชีวิตจริงของชีวิตและ สังคมมุ่งหมายให้ความเพลิดเพลินกระทบอารมณ์ผู้อ่านเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันผู้อ่านเป็นสำคัญในขณะเดียวกันผู้อ่านจะ ได้รับข้อคิดคติชีวิตที่น่าสนใจซึ่งผู้เขียนแทรกไว้ในเรื่องด้วย  
 
 
การแบ่งตามเนื้อหาย่อยๆได้แก่
 
  หนังสือสารคดี (Non - Fiction)
 
หมายถึง หนังสือที่ให้ความรู้ในด้านต่างๆแบ่งเป็นหนังสือตำรา
หนังสืออ่านประกอบ หนังสือความรู้ทั่วไป และหนังสือทางด้าน
สันทนาการ ได้แก่
- หนังสือตำรา (Text Book) หมายถึง หนังสือแบบเรียนวิชาต่างๆ
ที่มีการเรียนการสอนตามหลักสูตร
- หนังสืออ่านประกอบ (Externsl Reading) หมายถึง หนังสือ นอกเหนือไปจากหนังสือตำราแบบเรียน แต่เป็นหนังสือที่มีคุณค่าทาง วิชาการเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนตามหลักสูตร
- หนังสือความรู้ทั่วไป (General Book) หมายถึงหนังสืออื่นๆ นอกเหนือไปจากหนังสือตำรา และหนังสืออ่านประกอบดังได้ กล่าวมาแล้ว
- หนังสือทางด้านสันทนาการ (Recreational Book)
หมายถึง หนังสือที่อ่านเพื่อผ่อนคลายอารมณ์แต่มี คุณค่า
ทางวิชาการ เช่น หนังสือทางด้านศิลปะและวรรณกรรมต่างๆ
 
 
  หนังสือนวนิยาย (Fiction)
  นวนิยายคือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นจากจินตนาการของผู้เขียนเรียบเรียงขึ้นเพื่อ ความเพลิดเพลิน
 
  หนังสืออ้างอิง (Reference Book)
 
หมายถึง หนังสือที่ช่วยตอบปัญหาทั้งทางด้านวิชาการและเรื่องทั่วไป ผู้อ่านใช้ประกอบหรือค้นคว้าในบางเรื่องบางตอนการแบ่งประเภทของ หนังสือตามเนื้อหานั้นหากจะแบ่งให้ละเอียดก็อาจจะแบ่งย่อยออกไปได้อีก ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับการที่ห้องสมุดจัดแบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เช่น การศึกษา กฎหมาย วรรณคดี ศิลปะ เป็นต้น  
 
 
 
2.การแบ่งตามลักษณะการแต่ง
 
 
  ร้อยแก้ว (Prose)
  คือ หนังสือที่ใช้ความเรียง ไม่มีการกำหนดลักษณะบังคับในการแต่งแต่ประการใด หนังสือส่วนใหญ่จะแต่ง
ด้วยร้อยแก้ว ไม่ว่าจะเป็นหนังสือสารคดี หรือหนังสือนวนิยาย
  ร้อยกรอง (Verse)
ตำราเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นตามหลักสูตรการเรียนการสอน
ในระดับและแขนงวิชาต่างๆมีเน้อหาวิชาการล้วน
และมีลักษณะเหมือนหนังสือสารคดี คือ มุ่งให้ความรู้
ต่างกันแต่ว่าหนังสือสารคดีนอกจากจะให้สาระประโยชน์
ในขอบเขตที่ไม่จำกัดแล้ว ยังให้ความเพลิดเพลินจากสำนวน
ภาษาลีลาการเขียน หรือเนื้อหาด้วย
 
 
 

  หนังสือ   | ประเภทหนังสือเล่ม  | องค์ประกอบหนังสือเล่ม