คือส่วนของหนังสือพิมพ์ซึ่งผู้ผ่านไปมาจะพบเห็นและอ่านก่อนหน้าอื่น ๆ และเนื่องจากผู้ที่ผ่านไปมานั้นเลือกซื้อหนังสือพิมพ์ก็เพราะข่าวที่นำเสนอ สิ่งที่นักออกแบบควรจะทำให้หน้าแรกมีประสิทธิภาพสูงสุดก็คือ การเลือกนำเสนอข้อมูลที่เป็นหัวเรื่องหรือพาดหัว และภาพของข่าวที่น่าสนใจนั้นอย่างชัดเจน ง่ายแก่การอ่านหรือดูรู้เรื่องได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งนี้นักออกแบบจะต้องจัดการกับองค์ประกอบซึ่งปรากฏอยู่ในหน้าแรก
 
    รูปแบบมาตรฐานของหน้าแรก
 
      หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ควรจะได้รับการออกแบบให้มีรูปแบบมาตรฐานในการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นตัวอักษรและภาพ รูปแบบนี้จะต้องได้รับการรักษาไว้ใช้ทุกฉบับต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งและขนาดของตัวอักษรและภาพ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย เกิดคุ้นเคยและจดจำได้จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของหนังสือพิมพ์ไปในที่สุด อย่างไรก็ตามรูปแบบมาตรฐานนี้จะต้องมีความยืดหยุ่นสูง       เนื่องจากภาพและตัวอักษรของแต่ละฉบับนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับข่าวของแต่ละวันว่ามีปริมาณและ คุณภาพเป็นอย่างไร เช่น หากวันใดมีภาพที่สื่อสาร ได้ดีก็อาจจะลดขนาดตัวอักษรที่เป็นหัวข่าวหรือพาดหัวให้มีขนาดเล็กลง เป็นต้นรูปแบบการจัดวางองค์ประกอบในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์นี้อาจ แยกเป็นแบบที่นิยมใช้กันทั่วไปได้ 5 แบบดังนี้     
      *คลิกที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด*
 
  แบบสมมาตร (Symmetrical Balance)

     
 เป็นการจัดวางองค์ประกอบทางด้านซ้ายและขวาของหน้าให้เหมือนกันหรือสมดุลแบบเท่ากันสองด้าน โดยวางหัวหนังสือพิมพ์ไว้ตอนบนตรงกลางหน้า  รูปแบบการจัดวางแบบสมมาตรนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยม แล้วในปัจจุบันเนื่องจากไม่ค่อย มีความยืดหยุ่น ในการนำเสนอ และทำให้หน้าหนังสือพิมพ์ดูนิ่ง ไม่น่าตื่นเต้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
  แบบอสมมาตร (Asymmertrical Balance)

     
        เป็นการจัดวางองค์ประกอบแบบที่ทางด้านซ้ายและขวาไม่เหมือนกัน แต่มีการวางให้เกิดความ รู้สึกโดยรวมแล้วดูสมดุล รูปแบบการจัดวางแบบอสมมาตรนี้เป็นที่นิยม ใช้มากเนื่องจากมีความยืดหยุ่น ในการนำเสนอภาพและ ข้อความอีกทั้งยัง ทำให้หน้าหนังสือพิมพ์ดูตื่นเต้นมีชีวิตชีวา
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
  แบบยึดโยง (Brace)

     
   
 
เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดให้ข่าวแต่ละเรื่องเรียงตัวเป็นลักษณะรูปตัวแอลใหญ่ (L) ทั้งตัวแอลปกติ และตัวแอลที่กลับซ้าย-ขวา เพื่อให้แต่ละข่าวสอดยึดโยงกันและกันเอาไว้ รูปแบบการ จัดวางแบบยึดโยงนี้ ี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักในปัจจุบันแม้จะมีความยืดหยุ่นและดูตื่นเต้นก็ตาม   
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
  แบบละครสัตว์ (Circus)

     
   
 
      เป็นการจัดวางองค์ประกอบแบบสนุกสนานดี ไม่เป็นทางการ มีความยืดหยุ่นในการจัดวางมากและ ดูตื่นเต้น แต่ความเป็นทางการของรูปแบบนี้ทำให้ไม่เป็นที่นิยมใช้กับหนังสือพิมพ์ที่รายงานข่าวทั่วไป เพราะมีผลทำให้ข้อมูลที่นำเสนอดูไม่น่าเชื่อถือ  
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
  แบบแนวนอน (Horizontal)
     เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดให้ข่าวแต่ละเรื่องเรียงตัวละเป็นแนวนอนไล่จากด้านบนของ กระดาษลงมาสู่ด้านล่าง รูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นในการจัดวางมากแต่ก็ดูไม่ตื่นเต้นนัก     
 
       
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
      นอกจากการจัดทั้ง 5 แบบที่นิยมใช้กันทั่วไปแล้ว ยังมีการจัดแบบแนวตั้ง (Vertical) ซึ่งเป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดให้ข่าว แต่ละเรื่อง เรียงตัวกัน เป็นแนวตั้งไล่จากด้านซ้ายของกระดาษลงมาสู่ด้านขวารูปแบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักในปัจจุบัน
 
      หัวหนังสือพิมพ์   นิยมออกแบบโดยนำเอาตัวอักษรที่เป็นชื่อ
ของหนังสือพิมพ์นั้น ๆ มาจัดเรียงและดัดแปลงให้มีลักษณะเฉพาะตัว
โดยจัดองค์ประกอบให้เกิดเป็นตราสัญลักษณ์ประเภท ตัวอักษร (Logo) ซึ่งจะต้องโดดเด่น และง่ายแก่การจดจำ หนังสือพิมพ์บาง ฉบับอาจจะมีการจัดวางคำขวัญ (Slogan) ของหนังสือพิมพ์นั้น ๆ ประกอบไปกับชื่อด้วย โดยคำขวัญนี้ก็จะเป็นตัวอักษรขนาดเล็กกว่า ชื่อหนังสือพิมพ์วางอยู่ด้านบนหรือล่างของแถบชื่อ
 
    หัวข่าว หรือ “พาดหัว”
 
      เนื่องจากหัวข่าวหรือพาดหัวเป็นเหมือนจุดขายที่สำคัญที่สุดของ
หนังสือพิมพ์ การเลือกใช้ตัวอักษรที่จะมาเป็นหัวข่าวจึงต้องม
ีความพิเศษแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่น ๆ ในหน้า ทั้งในแง่ของ
ขนาดซึ่งจะต้องมีความใหญ่เด่นกว่าตัวอักษรอื่น ๆ ทั้งหมด
และยังจะต้องเลือกรูปแบบที่มีความโดดเด่นกว่าปกติด้วย
โดยอาจจะเลือกเอาจากตัวอักษรประดิษฐ์ (Display Type)
ซึ่งมีสำเร็จรูปอยู่มากมายหลายพันแบบ หรืออาจจะมี การออกแบบ
ตัวอักษรสำหรับหัวข่าวขึ้นใช้เองเป็นพิเศษ
      สำหรับหนังสือพิมพ์นั้น ๆ โดยเฉพาะก็ได้ ขนาดของหัวข่าวก็ควร
มีขนาดที่เห็นได้ชัดจากระยะไกลและมักนิยมใช้ตัวเน้น (Bold)
หรือเน้นพิเศษ (Extra bold) ทั้งนี้ตัวอักษรที่เป็นหัวข่าวนี้อาจจะ
มีสีที่แตกต่างไปจากตัวอักษรอื่น ๆ ในหน้า เช่น ตัวพิมพ์เนื้อเรื่องปกติ
ิเป็นสีดำ อาจจะใช้ตัวอักษรที่เป็นหัวข่าวเป็นสีน้ำเงิน เป็นต้น
 
 
    ภาพประกอบข่าว
       
      ภาพประกอบในหนังสือพิมพ์นั้นไม่เหมือนกับภาพประกอบในสื่อ
สิ่งพิมพ์อื่น ๆเช่น หนังสือ หรือนิตยสาร กล่าวคือภาพประกอบในสื่อ
สิ่งพิมพ์อื่น ๆ นั้น       
      นักออกแบบสามารถกำหนดหรือออกแบบตามจินตนาการแล้วมอบหมาย
ให้ช่างภาพไปถ่ายภาพมาตามที่กำหนดไว้ได้ แต่ภาพประกอบใน หนังสือพิมพ์นั้นเป็นภาพประกอบข่าว ซึ่งหมายถึงว่านักออกแบบ ไม่มีทางทราบล่วงหน้าว่าภาพ จะมีลักษณะและคุณภาพเป็นอย่างไร






 

 

  องค์ประกอบและการจัดวาง    | หน้าแรกของหนังสือพิมพ์  | หน้าในของหนังสือพิมพ์