ลักษณะเด่นของการพิมพ์ระบบเลตเตอร์เพรส จะปรากฎลักษณะพิเศษจากผลของการพิมพ์ ซึ่งจะต่างจากการพิมพ์ระบบอื่นๆอยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้ (ศิริพงศ์ พยอมแย้ม, 2537 : 229)  
 
ในการพิมพ์พื้นทึบ (Solid) หรือที่เรียกว่า "พื้นตาย"
กล่าวคือ สิ่งพิมพ์ที่มีสีเรียบ เมื่อพิมพ์ด้วยระบบเลตเตอร์เพรส บนกระดาษไม่เคลือบผิว มักแสดงให้เห็นงานพิมพ์ที่พิมพ์ไม่ทั่ว (Non-Buttoming) อยู่เสมอ เนื่องจาก หมึกพิมพ์ไม่ สามารถ ลงไปสัมผัสได้สุดรอยขรุขระ
   
หมึกจะหนาตามบริเวณริมขอบตัวอักษร และเม็ดกรีน
ทั้งมักจะมีรอยแตกจากตัวอักษรหรือเม็ดสกรีน เนื่องจากระบบการพิมพ์พื้นนูน จากพื้นเมื่อมา กระทบกับกระดาษ และ จะพบมากในจะทำให้เกิดการอัดรีดหมึก
(Ink-Squeeze) ไปตามขอบภาพกระดาษ ที่เคลือบผิวมัน
 
จะมีรอยนูนที่ด้านหลังของกระดาษงานพิมพ์  เนื่องจากแรงกด
  ของแม่พิมพ์นูนต่อกระดาษ
 
  ตัวอย่างการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์
 
    สิ่งพิมพ์ที่เหมาะสมกับการพิมพ์ระบบเลตเตอร์เพรสส์ (วันชัย ศิริชนะ, 2536) มีดังนี้
 
  1. มีจำนวนพิมพ์ไม่เกิน 2,000-3,000 ชุด

2. ไม่ต้องการคุณภาพสูงมาก

3. มีภาพประกอบน้อย

4. ไม่ควรเป็นงานพิมพ์หลายสี

5. ต้องมีเวลาทำงานพิมพ์นานพอสมควร

6. มีงบประมาณในการพิมพ์จำกัด
 
   

กระบวนการพิมพ์   | การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์  | การพิมพ์ออฟเซ็ต  | การพิมพ์กราวัวร์  |  การพิมพ์ลายฉลุ  |