เนื่องจากระบบการพิมพ์ซิลค์สกรีน เป็นการพิมพ์ที่หมึกพิมพ์ผ่านทะลุสกรีนลงบนชิ้นงาน ดังนั้น การพิมพ์ในลักษณะนี้  จึงมีคุณลักษณะเด่น ที่พิเศษแตกต่างจากการพิมพ์ในระดับอื่นได้แก่ (ศิริพงศ์ พยอมแย้ม, 2537 : 235-236)
 
  การพิมพ์ที่ปริมาณหมึกพิมพ์ติดบนชิ้นงานมากกว่าการพิมพ์
์    ด้วยระบบอื่นๆ จนบางครั้งเมื่อใช้มือลูบไปบนผิวหมึกจะรู้สึกได้ว่านูนกว่าชิ้นงาน
     
  ถ้าเป็นภาพที่มีลักษณะฮาล์ฟโทน (Half Tone)
    เม็ดสกรีนของภาพจะมีความหยาบมากกว่าระบบการพิมพ์อื่นๆ
     
  สามารถที่จะพิมพ์บนผิวชิ้นงานได้ ไม่ว่าจะมีระนาบเรียบหรือผิวโค้ง
    ตลอดจนทรงกลม เช่น ขวดแก้วน้ำ เป็นต้น
     
  สามารถที่จะพิมพ์บนผิววัสดุชิ้นงานได้ทุกชนิด
    ไม่ว่าจะเป็น กระดาษ ผ้า ไม้ โลหะ พลาสติกหนัง เป็นต้น
 
 
ตัวอย่างการพิมพ์ซิลค์สกรีน

    สิ่งพิมพ์ที่เหมาะสมกับการพิมพ์ระบบซิลค์สกรีน (วันชัย ศิริชนะ, 2536) ดังนี้
 
  1. เป็นภาพโฆษณา (Postor) ขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนพิมพ์ไม่มากนัก

2. พิมพ์บนผิววัสดุพิเศษ เช่น แก้ว พลาสติก ผ้า หนังโลหะ เป็นต้น

3. พิมพ์แผงวงจรไฟฟ้า

4. พิมพ์งานที่เน้นความงามทางศิลปะเป็นพิเศษจำนวนน้อยชิ้น
 
   
 

กระบวนการพิมพ์   | การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์  | การพิมพ์ออฟเซ็ต  | การพิมพ์กราวัวร์  |  การพิมพ์ลายฉลุ  |