ลักษณะเด่นเป็นพิเศษของระบบออฟเซ็ต คือ ทั้งตัวอักษรและภาพหมึกจะติดทั่วทั้งภาพสมํ่าเสมอ ขอบภาพหรือตัวอักษรจะมี
ความคมชัด โดยไม่มีรอยอัดบี้ตามขอบภาพเหมือนระบบเลตเตอร์เพรส แม้ว่าจะเป็นการพิมพ์บนกระดาษหยาบก็ตามเนื่องจากหมึก จะพิมพ์ติดบนลูกกลิ้งยางก่อนที่จะสัมผัสกระดาษ  (ศิริพงศ์ พยอมแย้ม, 2537 : 232)
 
      ระบบออฟเซ็ตสามารถพิมพ์ภาพสกรีนที่มีขนาดละเอียดไม่เกิน 133 เส้นต่อนิ้ว แต่ระบบออฟเซ็ตใช้สกรีนละเอียดได้ถึง 150
หรือ 175 เส้นต่อนิ้ว หรือมากกว่า สกรีนยิ่งละเอียดมากเท่าใด ก็ยิ่งเก็บรายละเอียดของภาพได้มากขึ้นเท่านั้น และความหนาของ ชั้นหมึกที่ติดบนแม่พิมพ์และกระดาษจะบางกว่าระบบเลตเตอร์เพรส 3-4 เท่า(วันชัย ศิริชนะ, 2539 : 70-71)
      ส่วนลักษณะพิเศษที่พบจากข้อบกพร่องของการพิมพ์ระบบออฟเซ็ต ได้แก่
 
   

การเกิดสะกัม (Scum)
เนื่องจากการแบ่งเขตระหว่างภาพกับพื้นของระบบออฟเซ็ตนั้นอาศัยการแบ่งด้วยน้ำ โดยบริเวณที่เป็นพื้นจะมีนํ้าจับอยู่และหมึกจะไม่จับที่พื้น แต่ถ้าการพิมพ์นั้น เกิดความ ไม่สมดุลในการให้น้ำเช่นน้ำน้อยเกินไป หมึกพิมพ์อาจเข้าไปจับบริเวณพื้นก็ได


   
การเกิดทินติ้ง (Tinting)
มีลักษณะเป็นสีจางๆปรากฎทั่วแผ่นแม่พิมพ์ โดยมีลักษณะเป็น ไขมันหมึกจับเป็นคราบ อยู่ทั่วไป ทั้งนี้เกิดได้จากหมึกพิมพ์ และน้ำยาเฟาเทน มีคุณภาพไม่เหมาะสมทำให้ไขมัน หมึกไปรวมกับน้ำได้ลักษณะพิเศษทั้งสองประการนี้ ถ้าปรากฎขึ้น ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า เป็นการพิมพ์ในระบบออฟเซ็ตอย่างแน่นอน
 
 
  ตัวอย่างการพิมพ์ออฟเซ็ต
 
    สิ่งพิมพ์ที่เหมาะสมกับการพิมพ์ระบบออฟเซ็ต (วันชัย ศิริชนะ, 2536) มีดังนี้  
 
  1. ควรมีจำนวนพิมพ์เกิน 3,000 ชุด ขึ้นไป

2. มีภาพประกอบมาก

3. ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์

4. ต้องการความประณีต งดงาม

5. ต้องการพิมพ์หลายสี

6. ต้นฉบับมีงานศิลปะ (Art Work) มาก
 
   
 

กระบวนการพิมพ์   | การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์  | การพิมพ์ออฟเซ็ต  | การพิมพ์กราวัวร์  |  การพิมพ์ลายฉลุ  |