เนื่องจากการพิมพ์ในปัจจุบันนิยมระบบการพิมพ์แบบออฟเซต ซึ่งการทำแม่พิมพ์เริ่มต้นตั้งแต่การนำชิ้นงานอาร์กเวิร์กมาแยกสี
เพื่อให้ได้ฟิลม์ แล้วนำไปถ่ายลงบนแผ่นสังกะสีเคลือบน้ำยาเคมี เพื่อให้เกิดรูปรอยตามต้นฉบับต่างกับการพิมพ์ในระบบเลตเตอร์เพรสส์ ซึ่งการทำแม่พิมพ์เป็นเพียงการนำบล็อกโลหะ เช่นตัวอักษรที่มีการจัดทำไว้เรียบร้อยแล้วมาเรียงต่อกันตามต้นฉบับ
 
 
การพิมพ์สอดสี
 
      การพิมพ์สอดสี หมายถึง การพิมพ์งานสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีมากกว่า 1 สี
ซึ่งเรียกกันติดปากว่า "พิมพ์สี่สี"ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Full-Color" ช่างพิมพ์
์จะต้องทำแม่พิมพ์จำนวน 4 แผ่น เลทแผ่นหนึ่งสำหรับพิมพ์หมึกสีดำ(Black)
อีก 3 เพลทสำหรับพิมพ์สีม่วงแดง (Magenta) หมึกพิมพ์สีเหลือง (Yellow)
และหมึกสีฟ้า (Cyan) เมื่อพิมพ์หมึกสีทั้งสี่สีนี้ทับกันตามแม่พิมพ์แล้ว หมึกสีก็จะผสมกันทำให้เกิดภาพสีสวยงาม  การพิมพ์สีทีละสีผสมกันจนได้สีที่ต้อง
การนั้น มีการผสมสีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบการผสมสีแบบบวก เป็นการผสมสี ีที่เราพบเห็นทั่วไปในธรรมชาติ คือ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
เมื่อมาผสมรวมกันก็จะได้แสงสีขาว คือ แสงแดด
      การผลิตภาพสีอีกระบบหนึ่งเรียกว่า ระบบการผสมสีแบบลบ ซึ่งเป็นระบบ
ที่ใช้ในการพิมพ์ ระบบนี้ใช้แม่สีเป็นหลัก และหักลบกับแสงสีที่ส่องมาบนกระดาษ
หรือส่องลงมายังฟิลม์
  
  คลิกดูรายละเอียดระบบสีที่ใช้ในการพิมพ์
 
 
 
การแยกสี
 
      การแยกสี (Color Scanning) หมายถึง การนำข้อมูลจากต้นฉบับภาพสี
ีไปสร้างเป็นภาพสกรีนบนฟิลม์ 4 ชิ้น เพื่อนำไปทำแม่พิมพ์ 4 แผ่น สำหรับนำไป
พิมพ์ด้วยหมึกสีฟ้า (Cyan) ม่วงแดง (Magenta) เหลือง (Yellow) และ
ดำ (Black) ลงบนพื้นสีขาว ให้ภาพแต่ละสีซ้อนทับตรงกันได้เป็นภาพสีเหมือน
ตามต้นฉบับการเกิดสีสันในการพิมพ์ภาพสีเกิดจากหมึกสีฟ้า ม่วงแดง และเหลือง
ภาพพิมพ์จากหมึกพิมพ์ 3 สี มีความดำไม่เพียงพอ ภาพจะไม่สวยงาม ดังนั้น
การพิมพ์สีดำลงไปในภาพทำให้เกิดความเปรียบต่างเพิ่มขึ้น
ในกรณีที่ภาพประกอบเป็นภาพถ่าย หรือฟิล์มสไลด์ เพื่อให้ได้ภาพสีที่ใกล้เคียง
ธรรมชาติ ผู้ออกแบบต้องสั่งการให้ช่างควบคุม การถ่ายเพลท แยกสีจากฟิลม์ได
้ถูกต้อง ตลอดจนควบคุมปริมาณหรือน้ำหนักของสีที่จะพิมพ์ในแต่ละเพลท
(Printing Plate) (ประชิด ทิณบุตร : 2530)
      การแยกสีต้องอาศัยเครื่องและอุปกรณ์หลายชิ้น ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์
(แบบทรงกระบอกและแบบแท่นราบ) เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์โปรแกรมแยกสี
เครื่องพิมพ์บรู๊ฟสี และเครื่องอิมเมจเซตเตอร์ (Imagesetter)
 
 
ระบบแยกสี
 
ระบบการแยกสีเพื่อการพิมพ์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ (สมชาย ศฤงคารินกุล, 2533 : 157)
 
  ระบบการแยกสีทางตรง
  จะมีการถ่ายฟิลม์มาสก์จากต้นฉบับก่อน แล้วนำฟิลม์มาสก์ไปกั้นแสงในขณะที่แยกสีและแผ่นสกรีนเนกาทีฟ เพื่อถ่ายฟิลม์อีกครั้งฟิลม์ที่ได้ ้จะเป็นฟิลม์ฮาล์ฟโทนเนกาทีฟสำหรับใช้ทำแม่พิมพ์ต่อไป
 
  ระบบการแยกสีทางอ้อม
  มีขั้นตอนการทำฟิลม์มาสก์จากต้นฉบับแล้วนำฟิลม์มาสก์ไปกั้นแสง เพื่อถ่ายฟิลม์อีกครั้งผ่านฟิลเตอร์แยกสี ฟิลม์ที่ได้เป็นฟิลม์แยกสีเนกาทีฟ ซึ่งจะมาประกบกับแผ่นสกรีนเพื่อฉายแสงให้ได้ฟิลม์ฮาล์ฟโทนพอสิทีฟเพื่อใช้ทำแม่พิมพ์ต่อไป
 
  ระบบการแยกสีอิเล็กทรอนิกส์
  ป็นระบบการแยกสีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เครื่องสแกนเนอร์จะอ่านค่าความดำบนต้นฉบับจุดต่อจุดผ่านฟิลเตอร์แยกสี ข้อมูลของภาพจะถูก เปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์และเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆที่จำเป็นสำหรับการผลิตโทนและแก้สี แล้วส่ง สัญญาณไปบังคับการฉายแสงลงบนฟิลม์เป็นโทนต่อเนื่องหรือฮาล์ฟโทนของฟิลม์แยกสีต่างๆ
 
 
การพิมพ์บูร๊ฟ
 
       
    ในการทำแม่พิมพ์จะต้องมีการบรู๊ฟก่อนทำการพิมพ์จริง เพื่อความสมบูรณ์เรียบร้อย ของแม่พิมพ์ในปัจจุบันวิธีการบรู๊ฟแม่พิมพ์มีหลายวิธี เช่นบรู๊ฟจากแท่นบรู๊ฟ และบรู๊ฟด้วยดิจิทัล บรู๊ฟ (Digital Proof)     นอกจากนี้เพื่อให้การบรู๊ฟได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง จึงควรสร้างมาตรฐาน การบรู๊ฟโดยการทำ "ซีเอมเอส" (Color Management System : CMS) การบรู๊ฟจะต้องคำนึงถึงว่าภาพที่ได้จากการบรู๊ฟสามารถนำไปพิมพ์ได้จริงบน
แท่นพิมพ์ ทั้งนี้ ระบบการพิมพ์บรู๊ฟจะต้องจำลองสถานการณ์จริงให้มากที่สุด ทั้งเฉดสีหมึก กระดาษพิมพ์ เม็ดสกรีน และแรงกดในการพิมพ์     ในขณะเดียวกันต้องมีการควบคุมคุณภาพของกระบวนการเตรียมต้นฉบับอย่าง
แม่นยำ เพื่อรักษาความต่อเนื่องของผลการบรู๊ฟ

  คลิกดูตัวอย่างงานปรู๊ฟ
 

  กระบวนการก่อนพิมพ์  | การเรียงพิมพ์  | เลย์เอาต์  |   อาร์กเวิร์ก   | ภาพในการพิมพ์  |  ตัวอักษรและตัวพิมพ์  | การพิสูจน์อักษร  | การทำแม่พิมพ์     
    กระดาษ  | หมึกพิมพ์  |