หมึกพิมพ์เป็นวิวัฒนาการของหมึกใช้สำหรับเขียน (Writing Ink) เริ่มแรกที่ประเทศจีนและประเทศอียิปต์ในปี ค.ศ. 400 ชาวจีนชื่อไวตัง (Witang) เป็นผู้คิดทำหมึกหมึกพิมพ์ขึ้นจากผงเขม่าสีดำ (Lamp Black) ในราวศตวรรษที่ 6 ชาวจีนชื่อซูหมิน (Suminne) ได้ตั้งโรงงานทำหมึกพิมพ์ขึ้นเป็นโรงแรก จนกระทั่งตอนปลายของคริสตวรรษที่ 13 จึงมีการผลิตหมึกเป็นอตสาหกรรม และได้มีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้นเพื่อให้ได้หมึกที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์แต่ละระบบ
 
 
ความหมายหมึกพิมพ์
 
มานิต มานิตเจริญ ได้ให้ความหมายไว้ว่า น้ำสีที่เอาปากกาจุ่มมาขีดเขียน มีสีต่างๆเรียกชื่อตามสี เช่น หมึกเขียว หมึกนํ้าเงิน หมึกดำ หมึกแดง ฯลฯ ปัจจุบันมักดูดเข้าไปไว้ในหลอดยางตัวปากกาหมึกซึมดูดครั้งหนึ่งก็เขียนไปได้นานๆไม่ต้องเสียเวลาจุ่ม ของเหลวๆที่ใส่ในแท่นพิมพ์ใช้ในการพิมพ์หนังสือและรูปภาพ มีสีต่างๆเช่น ดำ แดง น้ำเงิน เหลือง ฯลฯ เรียกเต็มว่า หมึกพิมพ์
 
 
องค์ประกอบของหมึกพิมพ์
 
      เพื่อให้หมึกพิมพ์มีคุรมสมบัติที่เหมาะแก่การพิมพ์ในสภาพการณ์ต่างๆตามต้องการ หมึกพิมพ์จึงต้องมีโครงสร้างของสารประกอบต่างๆ ที่จะช่วยให้หมึกพิมพ์มีคุณภาพที่ดี ซึ่งจะมีองค์ประกอบดังนี้
     
 
  ตัวเนื้อสี (Pigment)
  เป็นตัวทำให้หมึกมีสีสันแตกต่างกัน ซึ่งจะได้สาร 2 ประเภท ได้แก่ (โวาท นิติทัณฑ์ประกาศ, 2525 : 70-73)
 
1.1 สารอนินทรีย์ (Inorganic Pigment) เป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ดินสีต่างๆสนิมเหล็ก เป็นต้น คุณสมบัติที่ดีของเนื้อสีชนิดนี้ คือ มีความทนทาน สีไม่ซีดจางง่าย แต่การบดให้เนื้อสีละเอียดทำได้ยาก
1.2 สารอินทรีย์ (Organic Pigment) ได้แก่ สารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน หรือสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติจากพืชและสัตว์ คุณสมบัติที่ดีของสารประเภทนี้คือ ให้สีหมึกพิมพ์ที่สดใส สามารถบดให้ละเอียดได้ง่าย สามารถบดให้ละเอียดได้ง่าย ไม่กัดแท่นพิมพ์ แต่มีข้อเสียที่คุณภาพสีไม่ทนทานต่อแสงแดดทำซีดจางเร็ว
 
  ตัวนำ (Vehicles)
 
ได้แก่ สารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน หรือสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติจากพืชและสัตว์ คุณสมบัติที่ดีของ
สารประเภทนี้คือ ให้สีหมึกพิมพ์ที่สดใส สามารถบดให้ละเอียดได้ง่าย
สามารถบดให้ละเอียดได้ง่าย ไม่กัดแท่นพิมพ์ แต่มีข้อเสียที่คุณภาพสีไม่ทนทาน
ต่อแสงแดดทำซีดจางเร็ว







 
 
  ตัวทำละลาย (Solvent)
 
  ป็นส่วนที่ช่วยให้หมึกเหลวไม่แข็งตัวเร็วเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการพิมพ์ เช่นหมึกพิมพ์ติดบนลูกกลิ้ง (Cylinder) ตัวทำละลายนี้ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำยาเคมี หรือน้ำมันจำพวกน้ำมันสน น้ำมันก๊าด เป็นต้น  
 
  ตัวทำให้แห้ง (Drier)
 
      ในการพิมพ์ด้วยเครื่องจักรที่มีความเร็วในการพิมพ์สูง หมึกพิมพ์จำเป็นต้องแห้งเร็ว เพื่อจะไม่ทำให้เกิดหมึกไปติดบนบนด้านหลัง ของกระดาษพิมพ์แผ่นถัดไป ซึ่งเรียกว่า "การซับหลัง" ดังนั้นหมึกพิมพ์จำเป็น ต้องเติมสารต่างๆอาทิ Cobltลงไปเพื่อทำให้เป็นตัวเร่งที่จะทำให้หมึกทำ
ปฏิกริยากับออกซิเจนในอากาศ (Oxidation)
      การที่หมึกแห้งเร็ว ในบางครั้งอาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการพิมพ์ เช่น หมึกจะติดแห้งบนลูกกลิ้ง หรือไปอุดตันในสกรีน (สำหรับการพิมพ์ Silk Screen) เพื่อให้หมึกแห้งช้าลง นอกจากนี้ยังมีวิธีการพิมพ์อื่นๆ ที่ทำให้ หมึกพิมพ์แห้งโดยไม่ต้องใช้ตัวทำให้แห้ง ได้แก่
ก. ใช้ความร้อนช่วยอบหมึกให้แห้ง
ข. ใช้รังสีอัลตราไวโอเลต (UV)       โดยอาศัยหลักการที่รังสีจะเข้าไปกระตุ้นสารไวแสง ทำให้เรซินของหมึกพิมพ์เกิดปฏิกริยา (Polymerization) และทำให้หมึกแข็งตัว
 
 
 
 

 
  กระบวนการก่อนพิมพ์  | การเรียงพิมพ์  | เลย์เอาต์  |   อาร์กเวิร์ก  | ภาพในการพิมพ์  |  ตัวอักษรและตัวพิมพ์  | การพิสูจน์อักษร | การทำแม่พิมพ์     
    กระดาษ  | หมึกพิมพ์  |