ภาพที่ใช้ในการพิมพ์
 
      ภาพเป็นสื่อซึ่งให้ความหมายได้รวดเร็ว และมีลักษณะแตกต่างกับสื่อประเภทคำพูดหรือตัวหนังสือ เพราะนอกจากภาพจะเป็นสื่อความหมายแทนสิ่งอื่นแล้ว ยังเป็นสื่อความหมายในตัวเองอีกด้วย บางครั้งเราไม่อาจใช้ตัวหนังสือบรรยายได้ดีกว่าการใช้ภาพ เหตุการณ์บางอย่างอาจใช้ภาพประกอบกับคำบรรยายเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีคำบรรยายก็สามารถจะถ่ายทอดความหมายของเหตุการณ์นั้นได้ดี ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับชนิดของข่าวสาร เนื้อหาความน่าสนใจ คุณภาพ และลักษณะของภาพด้วย
      จุดสำคัญของการพัฒนาภาพนั้นก็เพื่อ "การสื่อความหมาย" นั่นเอง ถ้านำภาพและคำ (Word) มาประกอบกันเพื่อสื่อความหมายก็จะทำให้เข้าใจความหมายได้มากขึ้น หรือเรียกว่าใช้สื่ออย่างมีประสิทธิผล (Effective Communication) ในการทำหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร จำเป็นมากที่จะต้องใช้ภาพ และผู้ใช้จำต้องรู้วิธีการใช้ เลือกหรือการตกแต่งภาพ

 
 
แหล่งที่มาของภาพ
 
      ภาพที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร มีมากมาย ภาพเหล่านี้จะได้มาจากแหล่งต่างๆ กันคือ
      1. จากช่างภาพประจำกองบรรณาธิการ
      2. จากช่างภาพอิสระ
      3. จากช่างภาพมืออาชีพ
      4. จากหน่วยงานประชาสัมพันธ์
      สรุปแล้ว หนังสือพิมพ์ นิตยสารใหม่ๆ มักจะมีช่างภาพประจำกองบรรณาธิการ ซึ่งมอบหมายให้ไปถ่ายภาพตามที่ต้องการได้ตลอดเวลา โดยระบุให้ได้ภาพที่เหมาะสมกับเนื้อหาและในมุมต่างๆส่วนในนิตยสารฉบับเล็กๆอาจจะไม่จ้างช่างภาพประจำ แต่อาจจ้างเป็นครั้งคราว คือมอบหมายให้ช่างภาพมืออาชีพ เช่น ช่างถ่ายภาพ หรือช่างภาพรับจ้างไปถ่ายภาพตามที่ต้องการ แล้วจ่ายค่าตอบแทนเป็นครั้งๆไปตามที่ตกลงกัน นอกจากนั้น ช่างภาพอิสระหรือช่างภาพสมัครเล่นที่มีฝีมือในการถ่ายภาพดีๆก็อาจเป็นแหล่งภาพดีๆได้ นิตยสารหรือวารสารยังได้รับภาพจากหน่วยงานองค์การประชาสัมพันธ์ต่างๆอีกมากที่ส่งมาให้ เพื่อผลทางการประชาสัมพันธ์ เช่นจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นต้น
 
 
     
  ภาพที่ใช้ในการพิมพ์
     
     
  ภาพประกอบกับงานสิ่งพิมพ์
     
 
 

  กระบวนการก่อนพิมพ์  | การเรียงพิมพ์  | เลย์เอาต์  |   อาร์กเวิร์ก  | ภาพในการพิมพ์  |  ตัวอักษรและตัวพิมพ์  | การพิสูจน์อักษร | การทำแม่พิมพ์     
    กระดาษ  | หมึกพิมพ์  |